เมนู

พึงทราบว่า แม้ใคร ๆ แลดูแล้วก็พึงทราบได้ ดังนี้ ก็สัญญานี้นั้น มีปสาทวัตถุ
เท่านั้น แต่อาจารย์บางพวกแสดงว่า เพราะสัญญานั้นเป็นไปด้วยชวนะดังนี้.
สัญญาที่เป็นไปทางมโนทวารเป็นสัญญาละเอียด เพราะความที่สัญญา
นั้น อันบุคคลพึงถามบุคคลอื่นแม้นั่งเตียงเดียวกัน หรือตั่งเดียวกันว่า ท่านคิด
หรือตรึกอะไร ดังนี้ จึงทราบได้ด้วยอำนาจแห่งคำบอกของบุคคลนั้น. คำที่
เหลือเช่นกับเวทนาขันธ์นั่นแล.
นี้สัญญาขันธนิเทศ

4. สังขารขันธนิเทศ

(บาลีข้อ 20)
พึงทราบวินิจฉัยสังขารขันธ์นิเทศ ต่อไป.
บทว่า เย เกจิ สํขารา (สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง) นี้ ทรงกำ-
หนดสังขารอันเป็นไปในภูมิ 4. บทว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา เจตนา (เจตนา
อันเกิดแต่จักขุสัมผัส) เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อแสดงสังขารที่ทรง
ยกขึ้นแสดงด้วยอำนาจสังขารที่เป็นอดีตเป็นต้นโดยสภาวะ. บทว่า จกฺขุสมฺ-
ผสฺสชา
(เกิดแต่จักขุสัมผัส) เป็นต้น มีเนื้อความตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. คำ
ว่า เจตนา นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยอำนาจเป็นประธานสังขารทั้งเบื้อง
ต้นและเบื้องปลาย เพราะสังขาร 4 มาในพระบาลีเกิดขึ้นพร้อมกับจักขุวิญญาณ
โดยที่สุดทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย ซึ่งบรรดาสังขารเหล่านั้น เจตนาชื่อว่า
เป็นประธาน เพราะปรากฏด้วยอรรถว่าเป็นตัวกระทำ เพราะฉะนั้น เจตนานี้
เท่านั้นทรงถือเอาแล้ว ก็สังขารที่สัมปยุตด้วยเจตนานั้นย่อมเป็นอันทรงถือเอา
แล้ว ก็เพราะเจตนานั้น พระองค์ทรงถือเอาแล้วนั่นแหละ. แม้ในที่นี้ เจตนา 5
ข้างต้น มีจักขุปสาทเป็นต้น เป็นที่อาศัยเกิดอย่างเดียว เจตนาที่เกิดแต่มโน

สัมผัสมีหทัยวัตถุเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง ไม่มีวัตถุเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง เจตนาทั้ง
หมดเป็นเจตนาเป็นไปในภูมิ 4. คำที่เหลือเหมือนเวทนาขันธ์นั่นแล.
นี้สังขารขันธนิเทศ

5. วิญญาณขันธนิเทศ

(บาลีข้อ 26)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งวิญญาณขันธ์ ต่อไป.
บทว่า ยํ กิญฺจิ วิญฺญาณํ (วิญญาณอย่างหนึ่ง) นี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงถือวิญญาณอันเป็นไปในภูมิ 4. บทว่า จกฺขุวิญฺญาณํ (จักขุ
วิญญาณ) เป็นต้น พระองค์ตรัสเพื่อทรงแสดงวิญญาณที่ทรงยกขึ้นแสดงด้วย
สามารถแห่งวิญญาณที่เป็นอดีตเป็นต้นโดยสภาวะ. ในพระบาลีนี้วิญญาณ 5 มี
จักขุวิญญาณเป็นต้น มีจักขุปสาทวัตถุเป็นต้น เป็นที่อาศัยเกิดทีเดียว. มโนวิญญาณ
มีหทัยวัตถุเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง ไม่มีหทัยเป็นที่อาศัยเกิดบ้าง วิญญาณทั้งหมด
เป็นวิญญาณเป็นไปในภูมิ 4. คำที่เหลือเหมือนกับเวทนาขันธ์นั้นแล.
นี้วิญญาณขันธนิเทศ

ว่าด้วยปกิณกะในเบญจขันธ์ 16 อย่าง


บัดนี้ พึงทราบปกิณกะในขันธ์ทั้ง 5 โดยอาการ 16 อย่าง คือ
โดยการเกิดครั้งแรก (สมุคฺคมโต) 1
โดยการเกิดก่อนและหลัง (ปุพฺพาปรโต) 1
โดยกำหนดกาล (อทฺธานปริจฺเฉทโต) 1
โดยการเกิดขณะเดียวกันดับต่างขณะกัน (เอกุปฺปาทนานา-
นิโรธโต)
1